Main webboard   »   General Board
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  
Started by
Topic:   290452 “โอกาสเกษตรไทยในวิกฤติเศรษฐกิจโลก”  (Read: 3510 times - Reply: 0 comments)   
ammat2008

Posts: 3 topics
Joined: 1/6/2552

290452 “โอกาสเกษตรไทยในวิกฤติเศรษฐกิจโลก”
« Thread Started on 31/8/2552 17:04:00 IP : 158.108.84.107 »
 
Post by: sweet_surely on Apr 29th, 2009

  

การสัมมนาทิศทางเกษตรไทยโอกาสเกษตรไทยในวิกฤติเศรษฐกิจโลกวันพุธที่ 29 เมษายน 2552ณ ห้องประชุมสุธรรม อารีกุล อาคารสารนิเทศ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

 
บรรยายพิเศษหัวข้อ นโยบายรัฐกับการส่งเสริมภาคการเกษตรโดย ดร.อภิชาติ พงษ์ศรีหดุลชัย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องความสำคัญของภาคเกษตรก็เป็นความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงวิกฤต คนเริ่มหันกลับไปทำงานด้านการเกษตรอย่างน้อยก็ชั่วคราว ต่อมาก็คือเรื่องของเศรษฐกิจ การส่งออก เราได้จากสินค้าเกษตรประมาณ 20% ของการส่งออกทั้งหมด แต่สุทธิในหลายๆปีเราไม่เคยติดลบ แต่ขณะเดียวกันภาคนอกเกษตรเราติดลบ ช่วงนี้เราประสบกับการแข่งขันมากมาย มีข้อตกลงทางการค้าเสรีเกิดขึ้น มีการลดภาษีลง ความจริงก็ถือเป็นโอกาสที่ดี แต่อย่างไรก็ตามคู่แข่งของเราก็มีมากขึ้น มีข้อกีดกันเนื่องจากภาษีหายไป สิ่งที่ไม่ใช่ภาษีจึงมีค่อนข้างมาก ล่าสุดก็มีมาตรการ IUU เป็นสิ่งที่ถ้าทำแล้วไม่มีกฏระเบียบควบคุม ก็จะเข้าไปอียูไม่ได้ ซึ่งจะเริ่มในเดือนมกราคม ปี 2553 เป็นต้นไป เพราะฉะนั้นเราต้องพร้อม ปัจจุบันประเทศไทยส่งออกโดยรวมอันดับที่ 14 ของโลก สัดส่วนเราในตลาดโลกมีแค่ 2% ข้าวอย่างเดียวเราส่งออกไปร้อยกว่าประเทศ แต่ถ้าโดยมูลค่ารวมพันล้านบาทมี 60 กว่าประเทศ ปัญหาของเราก็คือเรื่องของภาคการผลิต คือประมาณ 1 ใน 4 เราอยู่เขตชลประทาน ที่เหลือ 3 ใน 4 เป็นนอกเขต เพราะฉะนั้นก็ขึ้นอยู่กับดินฟ้าอากาศ เนื่องจากเราอิงตลาดโลก เราไม่สามารถตั้งราคาได้ เนื้อที่ทางการเกษตรโดยรวมคงทราบดีว่าเราถูกทำลายไปเยอะแล้ว ป้าไม้เราขยายไม่ได้ เกษตรกรไทยมีเฉลี่ยเพียง 22 ไร่ต่อครอบครัว แทบจะไม่พอกิน สินค้าเล็กๆ หลายตัวที่ยังมีปัญหาร้องเรียนจากประเทศผู้นำเข้าค่อนข้างมาก เช่น พริกขี้หนู เรื่องภัยธรรมชาติ ภูมิอากาศ ก็เป็นเรื่องที่มีผลกระทบ นอกจากนี้ลักษณะการเกษตร โดยเฉพาะเรื่องไม้ผลยังมีปัญหาเรื่องการกระจุกตัว เน่าเสียง่ายส่วนเรื่องของนโยบายของกระทรวงเกษตรฯ ซึ่งก็แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ นโยบายเร่งด่วนกับนโยบายโครงสร้างภาคการเกษตร ในส่วนของนโยบายเร่งด่วนนั้นก็อาจเป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ซึ่งทางมหาวิทยาลับเกษตรศาสตร์ก็ได้จัดการสัมมนากันไปแล้วเมื่อไม่นานมานี้ เรื่องของการจัดแรงงานคืนถิ่นก็เป็นในช่วงภาวะวิกฤตพอดีที่นโยบายตัวนี้ออกมา เป็นเรื่องที่เราจะต้องสร้างงานให้กับแรงงานที่กลับจากภาคอุตสาหกรรม ให้มีอาชีพทางการเกษตรอย่างน้อยก็ชั่วคราว เพื่อเลี้ยงชีพก่อนที่จะไปสู่อาชีพจริงๆ เรื่องของตลาดรองรับสินค้าเกษตร บทบาทของกระทรวงเกษตรฯอาจจะไม่มากนัก แต่ในระดับท้องถิ่นชุมชน เราคงต้องดูแลในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ และในเรื่องข้อเรียกร้องต่างๆ ของเกษตรกรก็เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าไปแก้ไข เรื่องของการจัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติก็อยู่ในรัฐธรรมนูญ เรื่องน้ำในระยะเร่งด่วนก็คงเป็นการจัดการน้ำขนาดเล็ก ส่วนขนาดใหญ่ก็จะอยู่ในนโยบายปรับโครงสร้างสำหรับนโยบายปรับโครงสร้างภาคเกษตรก็จะมี 3 ด้าน เรื่องของการพัฒนาตัวเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เรื่องพัฒนาการผลิตก็คือพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตร และเรื่องของปัจจัยการสนับสนุนต่างๆเรื่องการพัฒนาเกษตรกร ความจริงก็ทำมาแล้วคือทะเบียนเกษตรกร เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาก็จะมีการปรับปรุงเร่งรัดจัดทำให้ทันสมัยและถูกต้องมากที่สุด เรื่องของการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรก็มีหน่วยงานที่กระทรวงเกษตรฯดูแลอยู่แล้ว เรื่องของการพัฒนาสถาบันเกษตรกรก็จะมองเรื่องบริหารจัดการให้สถาบันเข้มแข็งเป็นที่พึ่งของสมาชิกได้อย่างจริงจัง นอกจากนี้ยังมีเรื่องของสร้างอาสาสมัครทางการเกษตร เรื่องการประกันความเสี่ยงเรื่องราคา ภัยธรรมชาติ ก็กำลังคิดกันอยู่เรื่องประกันภัยพืชผล แต่ว่ายังไม่ลงตัวสักที เพราะภาคเอกชนยังไม่มั่นใจว่าทำธุรกิจนี้แล้วจะไปรอด ล่าสุดกระทรวงเกษตรฯ ได้มอบให้กรมส่งเสริมการเกษตรไปยกร่างเป็นโครงการศึกษาอีกรอบหนึ่ง โดยให้คลุมสินค้าข้าว ส่วนความเสี่ยงเรื่องราคานั้นทางรัฐบาลได้ให้กระทรวงการคลังเข้าไปดูแลอยู่ว่าแทนที่จะมารับจำนำ จะมีการประกันรายได้อย่างไร ตรงนี้ก็เกี่ยวข้องกับเกษตรกร กระทรวงเกษตรฯจะต้องมีส่วนร่วมด้วย ซึ่งก็จะเป็นนโยบายใหม่แทนการรับจำนำส่วนเรื่องของการผลิต เรื่องแรกก็คือ สินค้าที่สำคัญๆ เราจะต้องมาปัดฝุ่น ต้องทำให้ชัดเจนว่าสินค้าแต่ละตัวจะไปทิศทางไหน ก็ได้มีการเร่งรัดตรงนี้ให้เกิดขึ้น ส่วนเรื่องคุณภาพนั้น ทุกวันนี้ค้าขายกันคงไม่ใช่เรื่องปริมาณ แต่เป็นเรื่องของความมีมาตรฐานเพื่อให้ผู้บริโภคเชื่อมั่น บางอย่างท่านอาจจะมองไม่เห็น อย่างเช่นข้าวไทยกับข้าวเวียดนาม ทำไมข้าวของเราในระยะหลังขายได้เกินกว่าถึง 100 เหรียญ จริงๆก็เป็นทั้งข้อดีและข้อเสีย ถ้ามองข้อเสียก็ทำให้เราแข่งขันลำบาก แต่งถ้ามองในแง่ผู้ซื้อ ทำไมเค้าถึงซื้อแพงกว่าตั้ง 100 เหรียญ นั่นแสดงว่าเราต้องมีอะไรดีกว่า เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถพัฒนาของเราให้มีมาตรฐานตรวจสอบได้ ก็จะเป็นการเพิ่มมูลค่า องค์กรของเราก็มีความพร้อมอยู่แล้ว ทำให้ประเทศไทยมีการส่งออกอยู่ในอันดับต้นๆบทบาทของเราอันหนึ่งก็คือเรื่องการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ซึ่งจะเป็นตั้งแต่เรื่องของระบบชลประทาน โดยเฉพาะที่ก่อสร้างไปแล้วคือ ระบบกระจายน้ำซึ่งยังไม่สมบูรณ์ ก็คงไปทำให้สมบูรณ์มากขึ้น หรือพัฒนาแหล่งน้ำใหม่ ส่วนการจัดที่ดินทำกินก็มี สปก. ทำอยู่ ทั้งเป็นที่ดินของรัฐมีการจัดซื้อที่ดินเอกชนมาให้เกษตรกรเช่าหรือเช่าซื้อ แล้วก็อยู่ในระหว่างพิจารณาออกกฏหมายคุ้มครองที่ดินเพื่อการเกษตร ซึ่งตรงนี้เราจะเน้นที่ดินที่ได้รับการพัฒนาแล้ว การฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมก็เป็นงานที่ทำต่อเนื่อง เพราะถ้าทำไปแล้วไม่มีการดูแลรักษาก็คงจะทำให้ผลผลิตหรือคุณภาพลดลง แล้วก็เรื่องของระบบโลจิสติกส์ทางการเกษตร ซึ่งเป็นต้นทุนค่อนข้างมาก ก็คงจะต้องร่วมกับหน่วยงานอื่นด้วย เช่น เรื่องการขนส่งการเก็บรักษา การเคลื่อนย้าย สุดท้ายก็เรื่องสารสนเทศที่เราจะสนับสนุน ซึ่งมีส่วนที่ทำให้การตัดสินใจของภาครัฐทำได้ถูกต้องรวดเร็ว อีกส่วนหนึ่งก็คือการกระจายไปสู่เกษตรกรให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย ก็เป็นเรื่องที่จะต้องทำให้รวดเร็วถูกต้องและมีรายละเอียดที่เพียงพอโดยสรุปก็จะมีนโยบายอยู่ 3 ประการ ซึ่งเป็นภารกิจที่เราจะต้องทำ อันแรกก็คือเรื่องของตัวเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ต่อมาก็คือตัวสินค้าเกษตร สุดท้ายก็เป็นเรื่องของโครงสร้างและการให้บริการ ทั้งหมดเป็นนโยบายที่ต่อเนื่องมาจากนโยบายรัฐบาล ที่สำคัญก็คือเรื่องของการทำงาน ทางรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯก็ได้ย้ำเรื่องของการน้อมนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการให้หน่วยงานต่างๆ นำไปปฏิบัติให้กับเกษตรกร                      การบรรยายพิเศษ ทิศทางพืชเศรษฐกิจไทย : ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อยโดย นายอภิชาติ จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์             เศรษฐกิจประเทศไทยนั้น เราพึ่งพาการส่งออกที่สำคัญคือภาคอุตสาหกรรม ที่เราส่งออกมากพอมีปัญหาขึ้นมา อุตสาหกรรมเราก็แทบจะหยุด ภาคเกษตรเองก็มีสัญญาณเรื่องการส่งออกมามากว่าเราจะมีปัญหา เพราะฉะนั้นก็ต้องยอมรับว่าภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ เราก็ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน ถ้าเรามองหาว่าสิ่งใดที่จะมาช่วยกู้เศรษฐกิจ นโยบายของรัฐบาลไทยเองก็คือการหาเงินมากระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า ไม่ว่าจะเป็นเช็คช่วยชาติ หรือโครงการต้นกล้าอาชีพที่กำลังทำเพื่อช่วยคนตกงาน ผมมองว่าในส่วนของภาคเกษตรกรรมจะเป็นเสาหลักที่จะช่วยประเทศของเราให้ฟื้นขึ้นมาได้ เพราะทุกคนต้องกินอาหาร ทุกคนต้องซื้ออาหารเรา            ในปี 2551 ประเทศไทยมีอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตร 4.4 โดยเฉพาะสาขาพืชของเราโตมากถึง 6.2 เพราะฉะนั้นก็เป็นการกระตุ้นให้สาขาพืชของเรามีการเพิ่มการผลิตค่อนข้างมาก ในสาขาปศุสัตว์นั้นเนื่องจากสถานการณ์หลายๆอย่าง ทำให้โตไม่มากนักเพียง 1.7 ส่วนสาขาประมงก็ค่อนข้างมีปัญหาในเรื่องของการประมงและการส่งออก ทำให้ปีที่แล้วติดลบไป 0.1 สำหรับสาขาป่าไม้ก็ติดลบมาหลายปีแล้ว เนื่องจากเราปิดป่าและไม่มีการทำป่าทำให้ติดลบถึง 3.1 แล้วก็มีเรื่องของสาขาบริการการเกษตรซึ่งปีที่แล้วก็โตขึ้นเยอะถึง 2.6             สำหรับภาพรวมในปี 2552 นี้ ทางสำนักงานเศรษฐกิจฯ คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของภาคเกษตรจะมีการเจริญเติบโต โดยเป็นการมองโลกในแง่ดี แต่สถานการณ์ต่างๆอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ แต่อย่างไรก็คาดว่าภาคเกษตรของไทยยังเป็นบวกอยู่ อาจจะโตประมาณ 3-4 ถ้าเงื่อนไขต่างๆ ไม่เลวร้าย โดยเฉพาะสาขาพืชก็อาจจะโตถึง 4.7-5.7, สาขาปศุสัตว์มีแนวโน้มจะโตขึ้น ถ้าไม่เจอเรื่องของไข้หวัดนกก็คิดว่าจะโตถึง 1.1-2.1, สาขาประมงคิดว่าน่าจะติดลบ เพราะเรื่องของการส่งออกการทำประมงก็ยังเป็นปัญหาที่ยังสะสางไม่จบ ส่วนสาขาป่าไม้คงจะติดลบอยู่เหมือนเดิม สาขาบริการการเกษตรอาจชะลอลง แต่ก็ยังมีความสัมพันธ์กับสาขาพืชอยู่ ถ้าสาขาพืชยังมีการผลิต สาขาบริการก็ยังจะตามอยู่ ก็คาดว่าจะอยู่ที่ 2.1-3.1             สัดส่วนของ GDP ในตัวของพืชนั้น ข้าวมีอยู่ 16.5% ในปี 2551 มีมูลค่าถึง 1.3 ล้านล้านบาท มีปาล์มน้ำมันถึง 3.5% นอกนั้นก็จะเป็นพืชชนิดอื่นๆ 52% อันนี้คือองค์ประกอบของสาขาพืชที่ทำให้เรามีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตรถึง 1.03 ล้านล้านบาท            หากมาดูเป็นรายสินค้า เริ่มจากข้าว พื้นที่เก็บเกี่ยวทั่วทั้งโลกมีการเปลี่ยนแปลง มีการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยไม่ถึง 1% ประมาณบวก 0.9% โดยผลผลิตเพิ่มขึ้นประมาณ 2.4% ผลผลิตต่อไร่ก็มีการเพิ่ม 1.74% อันนี้เป็นภาพรวมของทั้งโลก ประเทศที่สำคัญในด้านของผู้ผลิตนั้น ได้แก่ ประเทศจีนมีการเติบโตถึง +3, อินเดีย +2, อินโดนีเซีย +0.5, บังคลาเทศ +3, เวียดนาม +2, ไทย +2, พม่า +1 ดังนั้นอัตราการเจริญเติบโตของข้าวของประเทศผู้ผลิตรายใหญ่นั้นจะมีอัตราการเจริญเติบโตประมาณ 1-3%            ในส่วนของประเทศไทย พื้นที่ที่ทำการผลิตข้าวนาปีมี 57 ไร่ ได้ผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 23 ล้านตัน ในปี 2550-2551 ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 400 กก./ไร่ แนวโน้มของตัวเลขยังเป็นบวก แต่บวกเพิ่มขึ้นแต่ละปีน้อยมากไม่ถึง 1% ประมาณ 0.1-0.2% เท่านั้น ส่วนข้าวนาปรังปีที่แล้วมีพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังถึง 12 ล้านไร่ ผลผลิตเฉลี่ยมีถึง 680 กก./ไร่ และผลผลิตรวมได้ประมาณ 8.7-8.8 ล้านตันข้าวเปลือก รวมแล้วปีที่ผ่านมาได้ข้าวเปลือก 31 ล้านตัน คิดเป็นข้าวสารประมาณ 21-22 ล้านตัน ปีที่แล้วเราส่งออกได้เยอะมากประมาณ 10.2 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2 แสนล้านบาท            ในปี 2552 พื้นที่เก็บเกี่ยวที่ทางสำนักงานเศรษฐกิจคาดการณ์ พบว่าพื้นที่เก็บเกี่ยวทั่วทั้งโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 0.78% จาก 963 ล้านไร่ เป็น 977 ล้านไร่ ผลผลิตก็จะเพิ่มขึ้น ช่วงสถานการณ์ของปีที่แล้วทำให้ทุกประเทศหันมาเพิ่มผลผลิตข้าว ทำให้ปีนี้ผลผลิตข้าวจะเพิ่มขึ้นจาก 644 ล้านตันข้าวเปลือก เป็น 657 ล้านตันข้าวเปลือก เพิ่มขึ้นบวก 2% ส่วนเรื่องของการส่งออก-นำเข้านั้นคงจะไม่เพิ่มมากนัก จาก 29.45% เป็น 29.51% ใกล้เคียงของเดิม            ในประเทศไทยเอง พื้นที่ 57 ล้านไร่คงไม่เปลี่ยนแปลง ผลผลิตก็น่าจะใกล้เคียงของเดิม ปีที่แล้วมี 23.3 ล้านตันข้าวเปลือก ปีนี้ก็น่าจะอยู่ที่ 23.2 ล้านตัน ผลผลิตก็ประมาณ 406 กก./ไร่ ถือว่าผลผลิตต่างๆ ของปีที่แล้วจาก 12.8 ล้านไร่ ในปีนี้น่าจะเหลือแค่ 11.2 ล้านไร่ ลดลงประมาณ 11% ผลผลิตของข้าวนาปรังจาก 8.7 ล้านไร่ ก็คงจะลงมาเหลือ 7.6 และผลผลิตต่อไร่คงไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก จาก 680 กก./ไร่ อาจจะเหลือแค่ 680 กก./ไร่ ส่วนเรื่องของการส่งออกนั้น คาดว่าคงจะส่งออกได้ไม่มากเหมือนปี่ที่ผ่านมา คงจะส่งออกได้ประมาณ 8.5-9.5 ล้านตันข้าวสาร เนื่องจากสถานการณ์ต่างๆ ไม่เอื้ออำนวยต่อการส่งออก ประกอบกับประเทศคู่แข่งฟื้นตัวกลับมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม อินเดีย จีน            ในส่วนของมันสำปะหลัง มองย้อนหลังไปตั้งแต่ปี 2546-2550 ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตรา 1.5% ผลผลิตเพิ่มถึง 4.5% ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น 2.9% มองภาพรวมทั่วโลกแล้ว ผลผลิตมันสำปะหลังมีอัตราที่เพิ่มขึ้น ประเทศสำคัญๆ ที่ผลิตก็จะมีประเทศไนจีเรีย 20% บราซิล 12% ไทย 12% รองลงมาก็จะเป็นอินโดนีเซียและประเทศในแถบแอฟริกาประมาณ 33% สำหรับปริมาณของการส่งออกนั้น ประเทศไทยส่งออกมากที่สุดถึง 80% ตามด้วยเวียดนาม 14% จะส่งออกในรูปของมันอัดเม็ด 33% มันอัดเม็ดและมันเส้นที่นำไปทำอาหารสัตว์อีก 60% แป้งแปรรูปอีก 15% ส่วนตลาดหลักที่สำคัญในการส่งออกมันสำปะหลังของไทยคือประเทศจีน ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ สเปน             สำหรับราคาเฉลี่ยของมันสำปะหลังอยู่ที่ประมาณ 1.17 บาท เป็นราคาหน้าฟาร์มที่เกษตรกรขายได้ ซึ่งเทียบกับต้นทุนแล้วเกษตรกรคงอยู่ไม่ไหว ส่วนราคาส่งออกก็ยังผันผวนตามปัจจัยตัวอื่นๆ โดยเฉพาะราคาข้าวโพดเป็นตัวที่ทำให้ราคามันสำปะหลังที่เป็นอาหารสัตว์ผันผวนมาก            แนวโน้มในปี 2552 คาดว่าพื้นที่เก็บเกี่ยวมันสำปะหลังจะเพิ่มเป็น 8.2 ล้านไร่ จาก 7.4 ล้นไร่ เพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับปี 2551 ผลผลิตจะขึ้นไปถึง 29.8 ล้านตัน จาก 25 ล้านตันในปี 2551 เพิ่มขึ้น 18% ผลผลิตต่อไร่จาก 3.4 ขึ้นเป็น 3.6 ต้นทุนจาก 1.08 บาท เป็น 1.23 บาท แต่ขายได้แค่ 1.17 บาท ก็ถือว่าขาดทุนมาก            ส่วนการส่งออกมีแนวโน้มจะลดลงบ้าง มันเส้นมันอัดเม็ดจาก 2.7 คงจะลงไป 2.5 แป้งมันอาจจะเพิ่มจากราคา 2 บาทในปี 2551 เป็น 1.50 บาท            หันมาดูที่ยางพารา เราก็ถือเป็นประเทศส่งออกอันดับหนึ่งเช่นกัน ทิศทางของยางพารา ปีที่แล้วเราส่งไปจีนประมาณ 8 แสนตัน คาดว่าปีนี้จะผลักดันให้ได้ 1 ล้านตัน เรามีรายได้จากการส่งออกยางพาราปีละ 2 แสนล้าน นอกจากเรื่องของการผลักดันการส่งออกแล้วเรายังต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มากยิ่งขึ้น และต่อไปภาคอีสานจะเป็นฐานการผลิตยางพาราแห่งใหม่ของเรา สืบเนื่องมาจากโครงการปลูกยางล้านไร่ ซึ่งขณะนี้ผลผลิตเริ่มออกแล้ว            มาที่ตัวสำคัญอีกตัวหนึ่ง ก็คือเรื่องของปาล์มน้ำมัน ภาพรวมจะเห็นว่าสถานการณ์ปาล์มน้ำมันทั่วโลกนั้นมีความต้องการมากขึ้น มีการผลิตมากขึ้น มีการใช้มากขึ้น ผู้ผลิตและผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลกก็มีประเทศมาเลเซีย 42% อินโดนีเซีย 44% แต่ไทยเราผลิตแค่เพียง 2.5% เท่านั้น เทียบกับสองประเทศนี้แล้วเรายังเด็กอยู่มาก            ในประเทศไทย เรื่องของพื้นที่ที่ให้ผล ตั้งแต่ปี 2547 กระทรวงเกษตรฯก็ผลักดันให้มีการปลูกปาล์มน้ำมันในภาคใต้และภาคตะวันออก พื้นที่ก็เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน พื้นที่ที่ให้ผลโตถึง 11% ผลผลิตเพิ่มขึ้น 15% ผลผลิตต่อไร่ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นประมาณ 3.4% การใช้ในประเทศเพื่อการบริโภคมีถึง 59% แต่ผลิตไบโอดีเซลเพียง 17% นอกนั้นเป็นการส่งออกในรูปของน้ำมันเพื่อการบริโภคและน้ำมันดิบบางส่วน            สำหรับแนวโน้มของทั่วทั้งโลกในปี 2552 ผลผลิตน่าจะเพิ่มขึ้น 4% จาก 41 ล้านตัน เป็น 43 ล้านตัน การใช้ก็จะเพิ่มขึ้นประมาณ 5.8% มีการส่งออกเพิ่มขึ้น4% จาก 30 ล้านตัน เป็น 32 ล้านตัน ส่วนสต็อกจะอยู่ที่ 4.2-4.3 ประมาณ 2.6% ส่วนราคาน้ำมันดิบคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,800-2,000 ริงกิต/ตัน เท่ากับ 18-20 บาท/กก. ในประเทศไทยผลปาล์มสดในปีหน้าจะเพิ่มเป็น 9.43% ราคาผลปาล์มสดคาดว่าจะอยู่ที่ 3-3.50 บาท             สุดท้ายเป็นเรื่องของอ้อย ซึ่งเป็นพืชที่สวนทางกับพืชตัวอื่นๆ ทั้งหมด ปัจจุบันนี้อ้อยยังมีราคาดีเหมือนเดิม  แต่น่าเสียดายที่ในประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกอ้อยน้อย ทำให้ผลผลิตอ้อยมีน้อยมาก สำหรับสถานการณ์ปี 2552 น่าสนใจมากว่าทั่วโลกจะประสบภาวะอากาศแล้ง ผลผลิตอ้อยลดลง ผลผลิตน้ำตาลลดลง ราคาอ้อยจะดีขึ้น คาดว่าปีนี้หลังจากฤดูตัดอ้อยแล้ว ในปี 2553 อ้อยจะล้น เพราะทุกคนจะหันมาปลูกอ้อยกันหมด ทำให้ราคาผลผลิตปี 2553 จะมากขึ้นอีก            ทิศทางของอ้อยในเรื่องของการขยายการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพ จาก 11 ตัน/ไร่ คิดว่าถ้ามีกระบวนการที่ดีขึ้นน่าจะเพิ่มได้ถึง 16 ตัน/ไร่ นอกจากนั้นเรื่องของผลิตภัณฑ์ก็คงจะต้องมองว่านอกเหนือจากทำน้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายดิบแล้ว อาจจะมองตัวอื่นด้วย เช่น การใช้อ้อยผลิตเอทานอลโดยตรง นอกเหนือจากการใช้กากน้ำตาล ก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในอนาคต  การบรรยายพิเศษหัวข้อ สถานการณ์ปัจจัยการผลิตพืชโดย นายเปล่งศักดิ์ ประกาศเภสัช นายกสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย สถานการณ์ปุ๋ยปีนี้ คาดว่าราคาตลาดโลกจะลดลงมากทุกตัว ซึ่งก็เป็นโอกาสที่ดีที่เราจะเพิ่มผลผลิต ทำให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศเราได้เป็นอย่างดี แล้วในอนาคตของภาคการเกษตรนั้นก็ยังมีความจำเป็น เพราะทั่วโลกยังต้องการอาหารจากผลผลิตของเรา และเราเองก็กำลังพยายามที่จะเป็นครัวโลก ดังนั้นจะทำอย่างไรให้เราสามารถพัฒนาพันธุ์ให้แข็งแรง ให้ผลผลิตในปริมาณมากและคุณภาพสูง ตรงนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องให้ความรู้กับเกษตรกรเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการผลิตพืช  ประเทศไทยนำเข้าปุ๋ยเคมีปีละ 3-4 ล้านตัน ดังนั้นในการใช้ปุ๋ยต่างๆ คุณสมบัติของปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยชีวภาพนั้นมีความแตกต่างกัน จึงควรที่จะต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับปุ๋ยเหล่านี้ให้มาก โดยอาจจะปรึกษากับนักวิชาการ หรือศึกษาจากเอกสารที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำขึ้น เพราะธาตุบางอย่างที่ล้วนมีผลต่อพืช เช่น หากใส่ตัว N หรือ P หรือ K มากเกินไปโดยไม่สำรวจความสมบูรณ์ของดินก่อน ปัญหาก็จะเกิดได้ นอกจากการเลือกสรรพันธุ์ที่ดีแล้ว ยังต้องรู้จักตรวจสอบคุณภาพของดิน และใช้ปุยให้ถูกต้องเหมาะสม หากทำตามนี้แล้วก็จะทำให้พืชสามารถต่อสู้กับโรคได้ และจะสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพและมีปริมาณมากขึ้นตามมาความจริงแล้วการใช้ปุ๋ยอินทรีย์นั้นทำให้โรคร้อน แต่ก็สามารถใช้ได้ แต่ต้องใช้ให้เกิดประโยชน์ และใช้จากแหล่งที่มาที่มีคุณภาพเชื่อถือได้ ถ้าใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีการปนเปื้อนมากับโลหะหนัก ปัญหาก็จะเกิดขึ้นโดยอาจนำไปสู่โรคภัยต่างๆ ได้ ซึ่งตรงจุดนี้หลายคนไม่เข้าใจ ยังคงมีความเชื่อผิดๆ ด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยชีวภาพล้วน ซึ่งสิ่งที่ถูกต้องควรจะใช้แบบผสมผสานมากกว่าสรุปได้ว่า โอกาสของประเทศไทยมีเสมอในเรื่องของอาหาร ปีหนึ่งๆ ประเทศไทยผลิตอาหารและส่งออกพืช อาหารสัตว์ อาหารกระป๋องต่างๆ คิดเป็นรายได้ทางด้านเกษตรประมาณล้านล้านบาท ซึ่งตรงนี้เป็นรายได้ที่สำคัญของประเทศอย่างยิ่ง ปีนี้เราเชื่อว่าพืชผลทางการเกษตรจะจำหน่ายไปยังตลาดโลกได้ไม่ต่ำกว่า 550,000 ล้านบาท และจะส่งออกได้ไม่ต่ำกว่า 1.2 ล้านล้านบาท เชื่อว่าในอนาคตประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางการผลิตและจำหน่ยสินค้าเกษตรได้อย่างแน่นอน   การบรรยายพิเศษ ทิศทางปศุสัตว์และประมง

โดย นายยุคล ลิ้มแหลงทอง อธิบดีกรมประมง 

และ  ดร.จุมพล สงวนสิน ผอ.สำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล ดร.จุมพล สงวนสิน :            ภาคการประมงในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เรามีผลผลิตด้านการประมงปีละ 3.4-4.1 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 80,000-150,000 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้แบ่งเป็นผลผลิตทางทะเล 66% แต่รายได้หรือมูลค่านั้นจะเป็นในด้านการเพาะเลี้ยงเป็นส่วนใหญ่ประมาณ 51%             เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันนี้ทรัพยากรแหล่งน้ำของเราเสื่อมโทรมลง สาเหตุเพราะมีการจับมาใช้ประโยชน์มากไป และระบบนิเวศน์เสื่อมโทรมเพราะถูกทำลาย และเดี๋ยวนี้เรายังไม่สามารถเข้าไปจับสัตว์น้ำในต่างประเทศได้เหมือนก่อน อันนี้ก็เป็นปัญหาอย่างหนึ่ง รวมถึงเรื่องปัจจัยการผลิตที่เพิ่มขึ้น และข้อพิพาททางการประมงที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เราได้ดำเนินการฟื้นฟูทรัพยากร โดยสร้างปะการังเทียมตลอดแนวชายฝั่งและอ่าวไทยประมาณ 1,800 ตารางกิโลเมตร และปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในทะเลไม่น้อยกว่า 500 ล้านตัว/ปี ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มผลผลิตในธรรมชาติ            ประเด็นที่อยากให้ยึดไว้ก็คือการ ลดต้นทุน เพิ่มมูลค่า รักษาสภาพ โดยพิจารณาควบคู่ไปกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรามองว่าปัจจุบันผู้บริโภคหันมาบริโภคสัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก เพราะคำนึงถึงสุขภาพ ฉะนั้นตรงนี้จึงเป็นจุดขายที่เราจะสามารถดำเนินการได้ นายยุคล ลิ้มแหลมทอง :            ปัจจุบันด้านปศุสัตว์ของไทย มีโคเนื้ออยู่ประมาณ 9 ล้านตัวทั่วประเทศ มีโคนมอยู่ประมาณ 5 แสนตัว กระบือ 1.3 ล้านตัว สุกร 8 ล้านตัว แต่ละปีผลิตสุกรได้ 16 ล้านตัว มีแพะ 3 แสนกว่าตัว แกะ 4 หมื่นกว่าตัว ไก่พื้นเมือง 60 ล้านตัว แต่ละปีผลิตไร่ได้ประมาณ 300 กว่าล้านตัว เรามีไก่เนื้อที่สามารถผลิตได้ต่อปีอยู่ที่ 1,100 ล้านตัว ไก่ไข่ประมาณ 35-36 ล้านตัว และเป็ดอีก 3 ล้านกว่าตัว            มูลค่าทั้งหมดรวมอาหารสัตว์ด้วยแล้วอยู่ที่ประมาณ 350,000 ล้านบาท ในส่วนของ 300,000 ล้านบาทถือเป็นมูลค่าที่มีผลกระทบทางเศรษฐกิจพอสมควร ฉะนั้นเวลามีอะไรที่เกี่ยวข้องกับด้านปศุสัตว์ก็จะกระทบเป็นวงกว้าง            ภาพที่เกิดขึ้นในส่วนของโคเนื้อนั้น จากจำนวนโคเนื้อที่เพิ่มขึ้นถึง 9 ล้านตัว แต่ราคาโคเนื้อ (โคที่มีชีวิต) กลับตกลง ผิดกับราคาเนื้อวัวในตลาดที่สูงขึ้น ในส่วนของกระบือนั้นยังคงนิ่งๆ อยู่ที่ 1.3 ล้านตัว ก็ถือว่าการบริโภคภายในประเทศยังพอสมดุลกันอยู่ได้            สำหรับโคนมเป็นปัญหาที่เราเจอต่อเนื่องกันมา โคนมในประเทศมีอยู่ประมาณ 5 แสนตัว ผลผลิตน้ำนมที่มีต่อปีประมาณ 8 แสนตัว เรื่องของโคนมในประเทศมีการจัดระบบอยู่ 2 เรื่องคือ นมพาณิชย์กับนมโรงเรียน จากผลผลิตน้ำนมต่อวันประมาณ 2,400 ตัน เข้าไปอยู่ในนมโรงเรียนประมาณ 1,000 ตัน/วัน น้ำนมดิบ 8 แสนตันเอามาใช้ในการผลิตเป็นสินค้าหลักอยู่แค่ 2 ตัวคือ นมพลาสเจอร์ไรส์กับนมยูเอชทีเท่านั้น กระบวนการในการที่จะแปรรูปเป็นสินค้าตัวอื่นยังไม่มีในส่วนของไก่เนื้อ ช่วงวิกฤตที่ผ่านมาไม่กระทบมากนัก มากระทบหนักในช่วงไข้หวัดนกปี 2547 แต่ด้วยความที่ภาครัฐเข้ามาแก้ไขปัญหาและมีการปรับยุทธศาสตร์จากการส่งไก่สดออกไปต่างประเทศ ก็ส่งเป็นไก่สุกแทน จนขณะนี้ประเทศไทยส่งไก่สุกมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก คิดเป็นมูลค่าเกือบ 6 หมื่นล้านบาท สำหรับเรื่องของเป็ดนั้น ก็ยังมีการส่งออกได้อย่างต่อเนื่อง มีกระบวนการจัดการที่ดีพอสมควร            ส่วนเรื่องของหมูนั้น ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมากระทบมาตลอด จะได้โอกาสที่ดีก็ตอยที่มีเรื่องของไข้หวัดนกเข้ามาเท่านั้นเอง ที่ทำให้ราคาหมูกระเตื้องขึ้น แต่พอหลังจากที่ไข้หวัดนกเริ่มนิ่งแล้ว ปริมาณหมูที่เพิ่มขึ้นมามันลงช้ากว่าไก่ ทำให้ราคาหมูตก แล้วก็มีปัญหาเรื่องของต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งก็ได้มีการวางมาตรการแก้ปัญหาในระดับหนึ่ง แต่วันนี้สถานการณ์กลับเปลี่ยนไปทำให้ปริมาณหมูที่มีอยู่ขณะนี้ลดไปประมาณ 20% และราคาหมูขึ้นมาประมาณ 60 กว่าบาท นอกจากนี้เราส่งออกหมูแปรรูปได้ 8 พันกว่าตัน มูลค่า 1,500 กว่าล้านบาท และส่งออกหมูสดได้ 3 พันกว่าตัน            โดยรวมแล้วภาพรวมของสินค้าปศุสัตว์ยังไปได้ ยังมีโอกาสในการพัฒนา อาจจะพูดได้ว่าเวลานี้ปศุสัตว์ของไทยเป็นอันดับหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน เรากำลังทำความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านรอบๆ โดยจะให้มาเป็นพันธมิตรในเรื่องของการผลิตและเรื่องของวัตถุดิบหลักๆ   การอภิปรายหัวข้อ โอกาสของพืชผักและผลไม้ไทย

โดย นายพีระพงศ์ สาคริก (ตลาดไท),

นายมนตรี คงตระกูลเทียน (เครือเจริญโภคภัณฑ์),นายไพบูลย์ วงศ์โชติสถิต (นายกสมาคมผู้ค้าและผู้ส่งออกผลไม้ไทย),นายชูศักดิ์ ชื่นประโยชน์ (บจก.กำแพงแสน คอมเมอเชียล) นายพีระพงศ์ สาคริก :            จากประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นในปีหนึ่งๆ อย่างน้อย 70-80 ล้านคน ทำให้เกิดการบริโภคอาหารเพิ่มขึ้นตามกัน แต่ในขณะนี้เรากำลังเจอวิกฤติเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ จึงทำให้เกิดการซ้ำซ้อนกันหลายเรื่อง อย่างไรก็ตามในเรื่องของการพัฒนาผลไม้เมืองร้อนที่เรียกว่า ท็อปปิคอลฟรุ๊ต มีการขยายตัวในตลาดโลก เนื่องจากมีการเห็นคุณค่าทางอาหารที่ไม่เหมือนกับผลไม้เมืองหนาว โดยเฉพาะคุณค่ามีสรรพคุณทางยาหรือด้านสุขภาพ ซึ่งมีมากกว่าผลไม้เมืองหนาว สำหรับผลไม้ที่มีการบริโภคกันไม่มากหรือที่เรียกว่า ไมเนอร์กรุ๊ป ในตลาดโลก เช่น ทุเรียน มังคุด ลำไย ลิ้นจี่ เหล่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ประเทศเราผลิตมากขึ้น มีการเพิ่มปริมาณและทำการแปรรูปทำให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็คือโอกาสของประเทศไทย นายมนตรี คงตระกูลเทียน :             ประเทศที่เราส่งผลไม้ออกไปได้แก่ จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเอมิเรต แคนนาดา โดยประเทศจีนมีการส่งออกเพิ่มขึ้น 17% ฮ่องกงเพิ่ม 40% ญี่ปุ่นเพิ่ม 40% สาธารณรัฐเอมิเรตเพิ่ม 40% แคนนาดาเพิ่ม 26% ซึ่งก็แปลว่าแม้จะเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ แต่ก็ยังมีอีกหลายตลาดที่ยังเป็นของผลไม้ไทย            ปริมาณกับมูลค่าของผลไม้สดแช่เย็น ได้แก่ ทุเรียน ซึ่งมีตัวเลขเป็นบวกเพิ่มขึ้นถึง 88% จากปีที่ผ่านมา มะม่วงเพิ่ม 47% กล้วยเพิ่ม 57% มังคุดเพิ่มขึ้นหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ผลไม้ประเภทส้มลดลง 41%             ส่วนผลไม้แปรรูป พบว่าในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ประเทศที่นำเข้าเพิ่มขึ้นก็มีประเทศเนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น แคนนาดา ฝรั่งเศส            อย่างไรก็ตาม ปัญหาของผลไม้ไทยตอนนี้คือ เรามีตลาดแต่คุณภาพไม่ได้ ดังนั้นแนวทางที่จะทำให้เราส่งออกผลไม้ไปต่างประเทศได้มากขึ้น คือเราจะต้องมีการพัฒนารูปแบบของการจัดสวนผลไม้ให้มีมาตรฐานก่อน เมื่อได้ผลไม้ที่มีคุณภาพแล้วก็หาตลาดที่เหมาะสม แล้วค่อยลงลึกในเรื่องของการตลาด  ชูศักดิ์ ชื่นประโยชน์ :             ประเทศไทยส่งออกผักไปที่กลุ่มประเทศยุโรปและตะวันออกกลางมากที่สุด เพราะร้านอาหารไทยในยุโรปมีมาก จึงมีความต้องการผักของไทยไปเป็นส่วนผสมในการปรุงอาหาร และคนยุโรปเองก็นิยมบริโภคผักจากประเทศที่สาม มูลค่าของผักที่ส่งออกจากประเทศไทยไปยุโรปปีหนึ่งๆ ประมาณหมื่นกว่าล้านบาท แต่ความต้องการของตลาดยุโรปมีเป็นแสนล้าน แต่เรามีส่วนแบ่งตลาดไม่ถึง 1% เนื่องจากเรายังมีจุดอ่อนในเรื่องของบุคคลากรที่จะมีความรู้ความเข้าใจในการผลิตของที่ปลอดภัยให้กับผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคภายในประเทศหรือต่างประเทศ เพราะผักที่ปลูกในประเทศไทยทุกวันนี้อยู่ในระดับที่ไม่ค่อยจะปลอยภัย ทั้งสารเคมีและเชื้อจุลินทรีที่ปนเปื้อนมากับผัก ทางแก้ก็คือการปลูกผักในโรงเรือน             สรุปได้ว่า ผักในประเทศไทยยังมีโอกาสไปได้ไกล แต่จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขในเรื่องของวิธีการผลิตให้มีคุณภาพสูงและมีสุขอนามัยที่ดี ตามที่ตลาดต้องการให้มากขึ้น  

การอภิปรายหัวข้อ

ความพร้อมและแนวทางการลงทุนภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรโดย นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ (ผู้จัดการ ธ.ก.ส.),นายอนันต์ ภู่สิทธิกุล (เลขาธิการ ส.ป.ก.),

นายบริสุทธิ์ ประสพทรัพย์ (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย),

นายดิเรก กองพฤกษาชาติ (บสก.),

รศ.ดร.กล้าณรงค์ ศรีรอต (คณะอุตสาหกรรมเกษตร มก.),

นายโอภาส เกษตรสวนเพชร (เกษตรกรดีเด่น) นายอนันต์ ภู่สิทธิกุล :            สิ่งซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยก็คือ แรงงานในครอบครัวที่ภาคการเกษตรจะมีจุดอ่อน สิ่งที่ต้องยอมรับในปัจจุบันคือการปรับปลี่ยนอาชีพ เราคงใช้รูปแบบเดิมๆไม่ได้ ส่งผลทำให้สิ่งที่ตามมาก็คือคนที่เพิ่มขึ้น ตัวเลขที่ดินที่ถูกเอาไปใช้ในภาคการเกษตรอื่นก็มากขึ้นตามลำดับ ทำให้โครงสร้างพื้นฐานที่ถูกวางไว้แต่เดิมกับสถานการณ์ปัจจุบันก็ไม่สอดคล้องกัน ส่งผลให้อัตราการสูญเสียฐานการผลิตที่เราเรียกว่า ที่ดิน มีผลกระทบอย่างแน่นอน            สำนักงานการปฏิรูปที่ดินฯ ก็เป็นหนึ่งในองค์กรที่ดูแลที่ดินรัฐ แล้วให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ มีพื้นที่อยู่ประมาณ 22% ใน 130 ล้านไร่ หรือประมาณ 30 ล้านไร่ พืชหลักๆ ที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินส่วนใหญ่จะเป็นพืชไร่ ได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ข้าว เป็นต้น แต่ในมุมกลับกันของที่ดินเหล่านี้ ซึ่งเป็นฐานการผลิตใหญ่ๆ อยู่ในพื้นที่ที่มีระบบชลประทานเพียง 10% ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นต้นเหตุของความไม่พร้อม             ความพร้อมในการลงทุนภาคการเกษตรในวันนี้ ภาครัฐจะต้องขับเคลื่อนให้คนในภาคการเกษตรได้มีวิธีคิดหรือความรู้ใหม่ๆ และการจัดการในเรื่องการลดความเสี่ยงต่างๆในการลงทุน รวมถึงระบบการจัดการลงทุนโดยให้ภาคเอกชนนำ และให้รัฐเข้าไปสนับสนุนหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานโลจิสติกส์ หรือระบบการผลิตที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย เป็นต้น น่าจะมีนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับเกษตร            ในแง่ของแนวทางการลงทุน ภาคเอกชนต้องได้รับโอกาสและเป็นฐานจากภาครัฐ ในขณะเดียวกันภาครัฐก็ต้องไปกระตุ้นให้สถาบันเกษตรกรเป็นตัวสวิงหรือเป็นตัวเหวี่ยงเพื่อให้กระทบกับเกษตรกร หากทำอย่างนี้เพียงแค่ 20% ของภาคการเกษตร เชื่อว่าวิกฤตภาคการเกษตรจะขับเคลื่อนไปได้อย่างแน่นอน นายดิเรก กองพฤกษาชาติ :            บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) เป็นองค์กรภาครัฐมีสถานภาพเป็นรัฐวิสาหกิจ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2541 เป็นผลมาจากวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 และในช่วง 3-4 ที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยต่ำมาก เรามองว่าในระยะสั้นหรือระยะกลางนี้ อัตราดอกเบี้ยก็คงจะไม่ปรับขึ้นมากกว่านี้            เราจะสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง โดยดูจากวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 และในปี 2551 เป็นสภาวะที่มีคนตกงานมากมายจากภาคอุตสาหกรรม ถ้าเราเป็นคนที่ยังใหม่ต่อภาคเกษตร แต่อยากจะทำธุรกิจด้านการเกษตร เราจะวางแผนชีวิตสำหรับการลงทุนในอนาคตอย่างไร เราจะมีความยั่งยืนในการดำเนินชีวิตอย่างไร             โครงการพออยู่พอกินที่ดิน บสก. น่าจะเป็นคำตอบของท่าน เรามีที่ดินมากมายหลากหลายทั่วประเทศ ที่จะขายให้เกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรได้มีที่ดินทำกิน นอกจากนี้เกษตรการยังสามารถซื้อที่ดินในรูปเงินผ่อนในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกมาก MLR-3 เพราะฉะนั้น หากท่านสามารถซื้อที่ดินเงินผ่อนกับทาง บสก. ได้ในอัตราดอกเบี้ยเพียง 3%  นายบริสุทธิ์ ประสพทรัพย์ :             เป็นที่ทราบกันดีว่าวิกฤติเศรษฐกิจโลกในครั้งนี้นั้น มีผลพวงมหาศาลในการทำลายเศรษฐกิจทั่วทั้งโลก แต่สำหรับความขมขื่นของคนทำงานท่องเที่ยวนั้น มันรุนแรงจนไม่มีน้ำตาจะไหลกันแล้ว ทั้งในส่วนของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ไปจนถึงภาคธุรกิจเอกชน หรือแม้แต่ชาวบ้านที่มีลมหายใจอยู่กับรายได้จากการท่องเที่ยว มันเป็นผลกระทบที่รุนแรงที่สุดในรอบ 48 ปีที่ผ่านมาของภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย            นับตั้งแต่ปี 2546 เราประสบวิกฤตด้านการท่องเที่ยวอย่างที่ไม่เคยพบเจอมา ตั้งแต่เรื่องของสึนามี แล้วก็มาเรื่องโรคซาร์ โรคไข้หวัดนก มาจนถึงปัญหาของราคาน้ำมัน แต่วิกฤตต่างๆที่เกิดขึ้นเหล่านั้นล้วนแล้วแต่มีจุดสิ้นสุดในตัวของมันเอง แล้วก็ทำให้การท่องเที่ยวกลับมายืนได้อีกครั้ง แต่ปัญหาที่วิกฤตอย่างรุนแรงในขณะนั้น มันไม่ใช่วิกฤตจากเศรษฐกิจโลกเพียงด้านเดียว แต่เกิดจากวิกฤตภายในประเทศของเราเอง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 คงไม่ต้องย้ำว่าสีอะไรคือตัวสร้างปัญหา ในปี 2552 ตามแผนการท่องเที่ยว เราหวังว่าจะได้ตัวเลขนักท่องเที่ยวอย่างน้อย 15 ล้านคน และจะมีโอกาสที่จะมีรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งจากนักท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศประมาณ 1 ล้านล้านบาท แต่ปัจจุบันดูจากงบรายได้การท่องเที่ยวจากตลาดต่างประเทศในปีนี้ ยังไม่แน่ใจว่าจะทำได้ถึง 3 แสนล้านบาทหรือไม่ เหล่านี้คือความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย และยังไม่รู้ว่าจุดยุติของผลกระทบนี้จะมาถึงเมื่อใดหนทางของการอยู่รอดในปัจจุบัน ทางออกของเราในทุกวันนี้ก็คือตลาดไทยเที่ยวไทย ที่พอจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างกระแสเงินให้หมุนเวียนในประเทศได้ ซึ่งก็คงจะไปได้ในระดับหนึ่ง นั่นก็หมายถึงว่าโอกาสของเกษตรไทยในวิกฤติเศรษฐกิจโลกก็น่าจะมีส่วนเข้ามาเกื้อหนุนจุนเจือกันได้ ในส่วนของไทยเที่ยวไทยที่กำลังใช้แก้วิกฤตในขณะนี้ โดยปัจจัยหลักของการสร้างกระแสของการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะดึงนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศหรือในประเทศ ก็คืออาหารการกิน ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนคนในชีวิตประจำวัน ไม่ว่านักท่องเที่ยวจะมากจากชาติไหนก็ตาม ก็ต้องรับประทานอาหาร อาหารแต่ละมื้อก็มาจากภาคการเกษตร ที่เข้ามาจุนเจือในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว นี่จึงเป็นความเกื้อหนุนซึ่งกันและกันสำหรับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรนั้น ควาจริงแล้วเกิดควบคู่มากับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากเมื่อประมาณ พ.ศ. 2520 มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งหนึ่งที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ชื่นชมของนักท่องเที่ยวอย่างมาก นั่นก็คือ ไร่วโนทยาน ที่จังหวัดกาญจนบุรี เป็นฟาร์มเกษตรที่มีการนำเอาหน่อไม้ฝรั่งเข้ามาปลูก แล้วสร้างเรือนพักรับรองโดยให้นักท่องเที่ยวเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในฟาร์ม จุดเริ่มต้นต่อมาที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน แล้วก็ยังพัฒนารูปแบบมาจนถึงทุกวันนี้ก็คือ สวนสามพราน เกิดขึ้นครั้งแรกจาการเพาะพันธุ์ดอกกุหลายและกล้วยไม้ จนเป็นที่รู้จักในตลาดโลกว่าเป็น Rose garden และปัจจุบันก็ได้พัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่หลากหลาย             สุดท้ายนี้ อยากจะฝากถึงเกษตรกรที่คิดจะทำธุรกิจเชิงท่องเที่ยว ว่าการคิดประดิษฐ์สินค้าหรือบริการใดขึ้นมาเพื่อป้อนสู่นักท่องเที่ยวนั้น การพัฒนาคุณภาพควบคู่ไปกับความมีคุณธรรมนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก นอกจากการมีคุณภาพและมีคุณธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยวแล้ว ยังต้องรู้จัการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของท่านที่จะจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวตามขีดความสามารถของเกษตรกรแต่ละราย โดยสามารถขอคำปรึกษาจากสำนักงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่อยู่ตามภูมิภาคต่างๆ จำนวน 33 สาขาทั่วประเทศได้  ดร.กล้าณรงค์ ศรีรอต :             จากการวิจัยในต่างประเทศ พบว่า ตั้งแต่ปลายปีนี้ราคาน้ำมันจะขึ้นไปเรื่อยๆ และในปี 2030 ราคาน้ำมันจะทะลุ 200 ดอลลาร์สหรัฐ สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาและจะมีผลกระทบต่อเราก็คือ ปุ๋ยต้องแพงขึ้น พลาสติกต้องแพงขึ้น โลจิสติกส์แพงขึ้น ฉะนั้น ทุกคนต้องมองหาพลังงานทดแทน โดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน            นอกจากนี้ จากปัญหาโลกร้อนและมลภาวะต่าง ต่อไปในอนาคตเรื่องของคาร์บอนเครดิต จะเข้ามามีบทบาทในการทำการค้ากับต่างชาติ โดยเฉพาะการทำการค้ากับอียู เพราะสินค้าประเภทอาหารที่จะเข้าไปขายในอียูได้จะต้องมีฉลากคาร์บอนรับรอง ดังนั้นต่อไปประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรม จะมีก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์เพียงพอ นี่จึงเป็นอนาครของเกษตรกรไทย            อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญคือ ปัจจุบันมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น เพราะประชากรในปัจจุบันมีอายุยืนขึ้น โดยผู้ชายไทยจะมีอายุเฉลี่ย 70 ปี และผู้หญิงไทยจะมีอายุเฉลี่ย 80 ปี ดังนั้นเมื่อเราเริ่มแก่ตัวลง ควรที่จะต้องมองหาอาชีพหลังการปลดกระเษียน ซึ่งคำตอบสำหรับชีวิตในบั้นปลายก็คือ อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพที่เหมาะสมกับคนวัยนี้              นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ :             ในวิกฤติเศรษฐกิจขณะนี้ อยากให้นำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กลับมาใช้ในการดำเนินชีวิตอีกครั้ง และขอให้ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นนิสัย ไม่ใช่ว่าเกิดวิกฤตแล้วจึงค่อยหันมาหาความพอเพียง แต่ต้องยึดไว้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตของตนเองตลอดไป โดยการมีความพอดี พอประมาณ และมีเหตุผล สรุปก็คือการที่เราพึ่งพาตนเองให้มาก เมื่อพึ่งพาตัวเองได้ก็ไม่ต้องขึ้นกับต่างชาติ เพราะปัจจุบัน GDP ของประเทศไทยนั้น ขึ้นกับต่างชาติถึง 70% มีเพียง 30% เท่านั้นที่อยู่ในประเทศ            นอกจากนี้ในหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ยังได้กล่าวถึงหลักเกษตรพอเพียงด้วย โดยใช้ขั้นบันไดของการพัฒนา 3 ขั้น โดยในขั้นแรกต้องพออยู่พอกิน พึ่งพาตัวเองให้ได้ก่อน เช่น การทำปุ๋ยเอง แทนที่จะพึ่งพาแต่ปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพงขึ้นทุกวัน เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในสวนในฟาร์มนั้น สามารถนำมาใช้ทำเป็นปุ๋ยได้หมดแม้แต่มูลสัตว์ ดังนั้นเมื่อทำได้ในครอบครัวตนเองแล้ว ก็ขยายมาสู่หมู่บ้าน โดยหันมาพูดคุยกันในชุมชนว่าแต่ละคนทำอะไร มีอะไรที่สามารถแบ่งปัน แลกเปลี่ยน และช่วยเหลือกันได้บ้าง และท้ายที่สุดภาครัฐควรจะต้องเข้าไปดูแลให้ความรู้แก่ชาวบ้าน เพื่อให้ชาวบ้านได้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาตนเอง พัฒนาครอบครัว และพัฒนาชุมชนของพวกเขาได้

*********

 

 
   Link to Post - Back to Top

Bookmark and Share

กรุณาเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนโพสข้อความค่ะ
»
คลิ๊กที่นี่
   Main webboard   »   General Board
 ย้อนกลับ  |  ตั้งกระทู้ใหม่  

Advertising Zone    Close

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...